ข้อสะโพกเสื่อม
หมายเหตุ ที่มาของภาพประกอบในบทความนี้ :
ได้มาจากการสืบค้นใน internetโดย Google search หัวข้อย่อย image และคัดเลือกภาพที่เหมาะสมกับบทความ
ทั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้ทางการแพทย์ทั่วไป และให้ผู้อ่านเข้าใจเนื้อหาในบทความดีขึ้น
โรคข้อสะโพกที่พบบ่อยในคนไทยได้แก่ ข้อสะโพกเสื่อมตามวัย (Osteoarthritis,OA) ข้อสะโพกผิดปกติแต่กำเนิดไม่เจริญเติบโตเต็มที่ (Developmental Hip Dysplasia,DDH) ข้อสะโพกขาดเลือดไปเลี้ยงที่กระดูกหัวของข้อสะโพก (Avascular Necrosis) โรคข้อสะโพกจากโรครูมาตอยด์ ซึ่งสัมพันธ์กับการใช้สารสเตรียรอยด์เป็นเวลานาน ปริมาณการดื่มเหล้า ความผิดปกติแต่กำเนิด ซึ่งจะพบในวัย 40-65 ปี
ภาพจำลองแสดง การเกิดข้อสะโพกเสื่อม
ภาพถ่ายเอ็กซเรย์แสดงความเสื่อมหรือสึกหรอของกระดูกบริเวณผิวข้ออย่างชัดเจน ซึ่งหากผู้ป่วยรับการรักษาด้วยวิธีอื่นๆ เช่น การทานยา หรือการทำกายภาพบำบัดแล้วไม่ได้ผล แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขากระดูกและข้อจะให้คำแนะนำการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม
แสดงภาพถ่ายเอ็กซเรย์แสดงความเสื่อมของข้อสะโพก
เมื่อข้อเสื่อมเกิดที่ข้อสะโพก
โรคข้อเสื่อมที่เกิดกับข้อสะโพกเป็นโรคที่พบไม่ค่อยบ่อยในผู้สูงอายุ เริ่มพบได้ตั้งแต่อายุ 45 ปี แต่มักพบบ่อยเมื่ออายุมากกว่า 60 ปี เมื่ออายุน้อยผิวข้อที่มีผิวเรียบ มัน วาว แต่เมื่ออายุมากขึ้นผิวข้อจะมีการเสื่อมสภาพ ซึ่งรวมถึงเยื่อหุ้มข้อ เส้นเอ็นรอบข้อ และกระดูกที่ประกอบเป็นข้อ เมื่อผู้ป่วยอายุมากขึ้นมักมีน้ำหนักตัวที่มากขึ้นด้วย และเริ่มมีโครงสร้างภายในข้อไม่เป็นปกติ จึงเกิดความเปลี่ยนแปลงความผิดปกติภายในข้อ อันประกอบด้วย
อาการแสดงเมื่อเป็นโรคข้อสะโพกเสื่อม
การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นดังกล่าวมาแล้ว เป็นเหตุเป็นผลกัน และเป็นปัจจัยที่ร่วมกันทำให้ขบวนการอักเสบภายในข้อสะโพกเกิดขึ้น และเพิ่มมากขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป จนทำให้ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการรุนแรงจนไม่สามารถเดินได้เป็นปกติ
อาการผิดปกติของผู้ป่วยที่เป็นโรคข้อสะโพกเสื่อมในระยะแรก ประกอบด้วย อาการปวด อาจร่วมกับการมีอาการขัดที่ข้อ โดยอาการจะเป็นมากขึ้นเมื่อมีการเคลื่อนไหวมากขึ้นของข้อ ในขณะเหยียดและงอข้อสะโพกจะมีอาการปวด และหรือขัดในข้อมากขึ้น และมีเสียงลั่นในข้อ ซึ่งอธิบายจากการที่ผิวกระดูกภายในข้อเริ่มไม่เรียบและมีกระดูกงอกเกิดขึ้น อาการปวดที่เกิดในผู้ป่วยบางรายทำให้เกิดการปรับตัวด้วยการไม่เหยียดหรืองอข้อสะโพกจนสุด เมื่อเวลาผ่านไปนานขึ้น ทำให้เกิดปัญหาข้อติดขัด และเคลื่อนไหวไม่เต็มที่ของข้อสะโพกตามมา เมื่อเวลาผ่านไปนานขึ้น หรือ ข้อที่เสื่อมอักเสบนั้นถูกใช้งานมากอย่างต่อเนื่อง ก็ทำให้อาการผิดปกติเหล่านี้ เป็นมากขึ้นได้
รูปแสดง บริเวณที่ปวดจากการมีข้อสะโพกเสื่อม
นอกจากอาการต่าง ๆ ที่กล่าวถึงแล้ว ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักต้องปรับวิถีการดำเนินชีวิตใหม่ เพื่อให้อาการเหล่านี้ทุเลาหรือหายไปได้เป็นครั้งคราว เช่นการปรับตัวในเรื่องการงอข้อสะโพก โดยการหลีกเลี่ยงการนั่งยอง ๆ การนั่งพับเพียบ การนั่งขัดสมาธิ การนั่งคุกเข่า และการขึ้นหรือลงบันไดบ่อย ๆ หรือหลายชั้น รวมถึงการปรับกิจกรรมประจำวัน เช่น ลดระยะทางการเดิน ไม่นั่งหรือยืนอยู่ในท่าเดียวนาน ๆ รวมถึงการใช้ไม้เท้าช่วยในการเดิน